วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


          

มัสมั่นเนื้อวัว
                                              แกงไก่มัสมั่นเนื้อ             นพคุณ พี่เอย
                                              หอมยี่หร่ารสฉุน                     เฉียบร้อน
                                             ชายใดบริโภคภุญช์                 พิศวาส หวังนา
                                        แรงอยากยอหัตถ์ข้อน            อกให้หวนแสวง ๚
 
                                         ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา        หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
                                       ชายใดได้กลืนแกง                  แรงอยากให้ใฝ่ฝันหาอ่านต่อ







กาพย์ยานี11







ตัวอย่างคำประพันธ์
สิบเอ็ดบอกความนัยหนึ่งบาทไซร้องพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนรางจำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลังตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำโยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่งสัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน
  

 
 อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์อ่านต่อ    



   
 

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

๑.ความเป็นมา
 เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเนื้อหาว่าด้วย มงคล 38 อันเป็นพระสูตร หนึ่งในพระไตรปิฎก พระสุตตันปิฎกขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ

คำว่ามงคล หมายถึง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า และ สูตร หมายถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า



๒.ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (พุทธศักราช ๒๔๕๓-๒๔๖๘)ทรงประกอบราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหารการปกครอง การต่างประเทศ โยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายอย่าง เช่น บทละคร บทความ นิทานนิยาย สารคดี เป็นต้นและทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อการแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆบทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบเป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้วมัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครคำพูดฉันท์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมญานามว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และในพุทธศักราช ๒๕๑๕พระองค์ทรงยังได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย

๓.ลักษณะคำประพันธ์
มงคลสูตรคำฉันท์   เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยทรงนำคาถาภาษาบาลีที่เป็น  มงคลสูตร”  ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกมาแปล  แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง  ท่องจำง่าย  และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ  โดยทรงใช้คำประพันธ์  ๒  ประเภท  คือ  กาพย์ฉบัง ๑๖ และ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  โดยลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า  ข้อนี้แหละมงคล   อดิเรกอุดมดี”  ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีที่ว่า  เอตมฺมงฺคลมุตตฺม

๔.จุดประสงค์ในการแต่ง
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือและนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

๕.เนื้อเรื่องย่อ
เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า  อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒  ปี พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ เชตะวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามและได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ  หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคล ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาภาษาบาลีเพียง ๑๐คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วยมงคล ๓-๕ ข้อ  และมีคาถาสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นว่าเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

๖.ข้อคิดที่ได้
     ๑.       มงคลสูตรคำฉันท์ได้สอนถึงพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า 
     ๒.    ได้รู้ถึงประวัติผู้แต่งมงคลสูตรคำฉันท์
    ๓.     สามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 ื   ๔.     ได้สอนให้รู้ถึงลักษณะคำประพันธ์ในการแต่งมงคลสูตรคำฉันท์
     ๕.    แสดงให้เห็นข้อคิดที่เป็นจริงและสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ


๗.คำศัพท์
โกศล                                      ฉลาด ในที่นั้นหมายถึง ประเสริฐ ในความว่า พหุธรรมะโกศล
ขุททกนิกาย                          ชื่อนิกายหนึ่งใน ๕ นิกายของพระสุตตันตปิฏกขุททกนิกาย เป็นหมวดพระธรรมขันธ์ หรือพระสูตรเล็กน้อยหรือย่อย ๆ
ขุททกปาฐะ                          บทสวดหรือบทสวดสั้นๆ แต่ละบทล้วนเป็นธรรมที่เป็นเบื้องต้นแห่งการถึงธรรมขั้นสูงขั้นไป หรือเป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญโดยส่วนเดียว มีทั้งหมด ๙ บท
คติ                                          วิธี แนวทาง แบบอย่างในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง แบบการดำเนินชีวิต
คาถา                                       คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี
จิรังกาล                                 เวลาช้านาน
จานง                                      ประสงค์ มุ่งหวัง ตั้งใจ
ชินสีห์                                   พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้ชนะ
ฉนา                                        ปี
เฉิดเฉลา                                งามเด่น สง่าผ่าเผย
ดากล                                      ตั้งไว้ ยืนอยู่
ติระ                                        ฝั่ง
ทะเลวน                                การเวียนว่ายตายเกิด หรือสงสารวัฏ
ทุษะ                                       โทษ หมายถึง ความไม่ดี ความชั่ว
นร                                          คน
บรรสาน                                ประสาน หมายถึง เชื่อม ผูกไว้
บำเรอ                                    รับใช้ ประสาน หมายถึง เชื่อม ผูกไว้
ประคอง                                พยุง ให้ทรงตัวอยู่ ในที่นั้นหมายถึง ให้ความอุปการะ เลี้ยงดูอบรม

ประถมยาม                           ยามต้น ในบาลีแบ่งกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง ดังนี้
ปฐมยาม                ตั้งแต่เวลา             ๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.
มัชฌิมยาม            ตั้งแต่เวลา             ๒๒.๐๐ ๐๒.๐๐ น.
ปัจฉิมยาม             ตั้งแต่เวลา             ๐๒.๐๐ – ๐๖.๐๐ น.
ปาปะ                                     บาป หมายถึง ความชั่ว ความร้าย กรรมชั่ว อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน สิ่งที่ทาจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือทาให้เลวลง ให้เสื่อมลง
พระสูตร                               พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่ง ๆ ในพระสุตตันตปิฏก
ไพจิตร                                   งาม
ภควันต์                                  พระนามของพระเจ้า แปลว่า เป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ไดส้มหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทาร้ายได้
ภพ                                          แดนเกิด
มล                                          ความมัวหมอง ความสกปรก ความไม่บริสุทธิ์
มนุญ                                      เป็นที่พอใจ
มโนมาลย์                             ใจ
มหิทธิ์                                    มีฤทธิ์มาก
มโหดม                                  มากมาย ยิ่ง ใหญ่ สูงสุด
วรอัตถะ                                เนื้อความอัน ประเสริฐยอดเยี่ยม
ยายี                                         เบียดเบียน รบกวน
โลกนาถ                                พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้เป็นที่พึ่งของโลก
สุตตันตปิฏก                         หมวดหนึ่งของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่รวมอยู่ในพระไตรปิฏก ซึ่งมี ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก
โสตถิ                                     ความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง
อดิเรก                                    พิเศษ
อนาถบิณฑิก                        (อะ-นา-ถะ-บิน-ทิ-กะ) ชื่อมหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีผู้เป็นอุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อสุทัตตะ ต่อมาได้นามว่า อนาถบิณฑิกะ ซึ่งแปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา เพราะได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจา วันหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีเดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธและได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใส จึงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ หลังจากเดินทางกลับถึงเมืองของตนได้หาซื้อที่ดินแปลงใหญ่สร้างพระวิหารเชตวันถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
อภิบูชนีย์ชน                        อภิปูชนียชน แปลว่า คนที่ควรบูชาอย่างสูง (มาจากคำว่า อภิ-ยิ่ง วิเศษ, ปูชนีย- น่านับถือ น่าบูชา, ชน-คน)
๘.ความรู้เพิ่มเติม
         ๘.๑ สาวัตถี ( Sravasti ) หรือที่ชาวอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า สะเหต-มะเหต เป็นหนึ่งในบรรดาเมืองที่สำคัญที่สุดในสมัยพุทธกาล และเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอย่างยาวนานที่สุดถึง ๒๕ พรรษา ( ๑๙ พรรษาที่เชตวันมหาวิหาร และ ๖ พรรษาที่วัดบุพพาราม )
         ๘.๒ เชตะวันมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ ( Rapti ) หรือแม่น้ำอจิรวดี นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นพระอารามที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยพุทธกาล
         ๘.๓ พระอานนท์เถระ เป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่งในอสีติมหาสาวก ท่านเป็นพระโอรถในพระเจ้าสุกโกทนะและพระนางกีสาโคตรมี
๙.บทวิเคราะห์
    ๑.     คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของ มงคล๓๘ ประการ ซึ่งเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้โดยเน้นที่การปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นลำดับจากง่ายไปยากและถ้าหากปฏิบัติได้แล้วจะทำให้ชีวิตมีความก้าวหน้าและผาสุกและสอนให้เรารู้จักการคบคน
   ๒.   คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจความหมายได้ไม่ยากเช่น โสตถิ ภควันต์  อภิบูชนีย์ชนนอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่ายและทรงเลือกสรรถ้อยคำได้สอดคล้องกับลีลาจังหวะของบทประพันธ์
   ๓.    คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีที่มาจาก มงคลสูตร ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน  มงคลสูตร ๓๘ ประการทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
\